วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8
วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม 2558
เวลา 08.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์บอกว่าวันนี้จะสอนการแต่งคำคล้องจอง

ตัวอย่างการเขียนคำคล้องจอง

อาจารย์บอกว่ายังเช้าอยู่ เราอาจจะยังไม่ตื่นเลยมีกิจกรรมวงกลมให้ทำโดยการร้องเพลง รำวงดอกมะลิ และรำไปด้วย 

กิจกรรมวงกลมร้องเพลง รำวงดอกมะลิ
     จากนั้นอาจารย์ก็สร้างความตื่นเต้นด้วยการให้จับกลุ่ม เช่น ไก่ 2 ตัวมีกี่ขา ก็จับกลุ่มตามจำนวนขา ใครจับกลุ่มไม่ได้ ก็ต้องออกมารำเพลง รำวงดอกมะลิ

     จากนั้นอาจารย์ก็ให้แบ่งกลุ่มทำงาน โดยให้แต่ละกลุ่มคิดหัวข้อที่จะเขียนคำคล้องจอง แล้วก็ให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มออกไปจับฉลาก กลุ่มของดิฉันคิดหัวข้อเรี่อง ไดโนเสาร์ และก็จับฉลากได้หัวข้อ ไดโนเสาร์
     เมื่อได้หัวข้อแล้วอาจารย์ก็อนุญาติให้เปิดหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตได้ เพื่อนำความรู้มาเขียนเป็นแผนผัง เมื่อเขียนเสร็จเราก็ต้องมาดูกันว่าหัวข้อที่เราทำแผนผังไปนั้น หัวข้อไหนที่เราสามารถนำมาสอนเด็กได้ แล้วอาจารย์ก็ให้เวลาในการแต่งคำคล้องจอง เมื่อแต่งเสร็จเราก็นำคำคล้องจ้องที่เราแต่งได้มาเขียนลงในกระดาษ แล้วอาจารย์ก็ยกตัวอย่างการเขียนคำคล้องจ้องและการตกแต่งให้ดู


จากนั้นอาจารย์ก็ให้เราทำงานกลุ่ม






และอาจารย์ก็สอนการอ่านคำคล้องจอง




พอหมดคาบอาจาจารย์ก็เช็คชื่อและให้เอากระดาษมาปั๊มเวลา และปล่อยเราไปกินข้าว

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
     การเขียนคำคล้องจ้องเขียนได้หลายแบบเช่น ใช้รูปภาพแทนคำโดยไม่ต้องมีตัวอักษรเลย หรือ การเขียนทั้งภาพเขียรทั้งตัวอักษร  แต่ที่เหมาะกับเด็กเล็กคือมีทั้งภาพและตัวอักษรเพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับคำ และตัวไหนที่เราจะเน้น เช่น หัวข้อ เราก็จะใช้ปากกาสีที่แตกต่างกันออกไป
     การอ่านคำคล้องจองให้เด็กฟังจะอ่าน 3 รอบ คือ รอบที่หนึ่ง ครูอ่านให้ฟัง รอบที่สองเด็กอ่านไปพร้อมกับครู และรอบสุดท้ายให้เด็กอ่านเอง โดยการอ่านทุกรอบครูต้องชี้ตัวอักษรให้กับเด็ก และรอบที่เด็กอ่านเองถึงจะอ่านผิดไปบ้างก็ไม่เป็นไร

การประเมินผล
ประเมินตนเอง 
รู้สึกว่าเราต้องใช้ความคิดในการคิดคำที่เหมาะสม เราต้องคำนึกถึงเนื้อหาที่จะเขียนลงไป เช่นจะเขียนเรื่องการสูญพันธุ๋ของไดโนเสาร์ก็ไม่กล้าเขียน เพราะกลัวเด็กๆจะเสียใจ คือจะเขียนอะไรเาต้องนึกถึงจิตใจเด็ก รู้สึกมีความตื่นตัวในการทำงานและการทำงานก็เป็นไปอย่างสนุกสนาน

ประเมินเพื่อน
เพื่อนทุกคนให้ความร่วมมือในการทำงาน และรับฟังความคิดเห็นของกันและกัน ช่วยกันคิดช่วยกันสร้างสรรค์ผลงานออกมาให้ดีที่สุด

ประเมินอาจารย์
อาจารย์ใส่ใจนักศึกษา เพราะเวลาทำงานอาจารย์จะมาตามกลุ่มและให้คำปรึกษาให้การช่วยเหลือตลอด


































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น