วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2558 
เวลา 08.30-12.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ
เมื่ออาจารย์มาถึงอาจารย์ก็ให้ตัวปั๊มเวลาเรียน


หลังจากนั้นอาจารย์ให้เล่นเกมนับเลขโดยที่ห้ามนับเลข3กับเลข7 ให้ใช้วิธีปรบมือแทน


กติกาคือคนที่ทำผิดต้องออกไปเต้นหน้าชั้นเรียน และดิฉันก็ทำผิดเลยต้องออกไปเต้นหน้าห้อง



หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้ร้องเพลงทวนของเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว




เมื่อร้องเพลงจบอาจารย์ก็สอนเนื้อหา เรื่อง แนวทางการจัดประสบการณ์ทางภาษา


Richard and Rodger แบ่งมุมมองต่อภาษาในการจัดประสบการณ์เป็น 3 กลุ่ม คือ
1. มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา - เสียง ไวยากรณ์
2. มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา - เน้นการสื่อความหมาย
3. มุมมองด้านปฎิสัมพันธ์ - เครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม

การอ่านแบบ Phonic
เป็นการสอนอ่านประสมคำ พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ตัวสะกด
แล้วอาจารย์ก็มีตัวอย่างหนังสือที่เด็กใช้เรียนในปัจจุบัน อาจารย์บอกว่าส่วนใหญ่โรงเรียนเอกชนจะเรียนแบบนี้คือเรียนแบบสะกดคำ แต่โรงเรียนรัฐบาลจะต้องจัด 6 กิจกรรมหลักให้กับเด็ก เพราะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของเขตพื้้นที่ การสอนแบบPhonicมันดี แต่มันไม่เหมาะกับเด็กปฐมวัย เด็กปฐมวัยควรเน้นการเล่นมากกว่า การเรียนแบบ Phonic ควรเรียนตอน ป.1



การสอนภาษาแบบธรรมชาติ Whole Language
เสนอแนวทางการสอนภาษาแบบธรรมชาติ มีความเชื่อมโยงระหว่างภาษากับความคิด เด็กจะเรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์และการลงมือกระทำ สอนในสิ่งที่เด็กสนใจหรือรอบตัวเด็ก การสอนแบบภาษาธรรมชาติจะทำให้เด็กรู้จักคำและรู้จักความหมาย แต่แบบ Phonic เด็กจะสะกดได้แต่ไม่รู้ความหมาย เพราะเด็กใช้ความจำไม่ได้ใช้ความเข้าใจ
หลักจากนั้นอาจารย์ก็ให้ดูวิดิโอที่สอนเด็กแบบภาษาธรรมชาติ การสอนภาษาแบบธรรมชาติไม่ได้สอนให้เด็กจำแต่จะทำให้เด็กคุ้นเคยกับคำ โดยใช้รูปภาพเข้ามาช่วย



หลักการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
1. การจัดสภาพแวดล้อม
2. การสื่อสารที่มีความหมาย
3. การเป็นแบบอย่าง
4. การตั้งความคาดหวัง
5. การคาดคะเน
6.การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
7. การยอมรับนับถือ
8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น

เมื่อสอนเนื้อหาจบอาจารย์ก็ให้ทุกคนออกไปร้องเพลงหนเาชั้นเรียนก่อนจะปล่อยเราทุกคนไปพักกลางวัน




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ทำให้เรารู้ว่าการสอนภาษาแบบไหนที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย จากการที่อาจารย์สอนร้องเพลงแปรงฟัน อาจารย์บอกว่าเด็กอ่านหนังสือไม่ออก แต่เราสามารถใช้ภาพในการสื่อสารความหมายแทนได้ โดยใช้ทั้งตัวอักษรและรูปภาพผสมกันไป และอาจารย์ก็สอนภาษาสำหรับครูที่จะใช้กับเด็กครูไม่ควรพูดคำว่าอย่า ดังนั้นเราจะพูดอะไรคนเป็นครูอย่างเราต้องคิดดีๆ เพราะเด็กเป็นวัยที่อ่อนไหวง่าย ยกตัวอย่างเช่น
อย่าวิ่ง คำที่ควรใช้ คือ ค่อยๆเดิน                                  อย่าแกล้งเพื่อน คำที่ควรใช้  เล่นเพื่อนดีๆ
อย่าซน  คำที่ควรใช้ คือ หนูต้องทำตามข้อตกลง         อย่าโกหก  คำที่ควรใช้ คือ หนูต้องพูดความจริง

การประเมินผล

ประเมินตนเอง

การเรียนก็เป็นไปอย่างสนุกสนานเพราะมาถึงอาจารย์ก็ให้เล่นเกมส์กับร้องเพลงทำให้เราตื่นตัวกับการเรียน  ตอนที่ต้องออกไปร้องเพลงหน้าห้องเรียนตอนแรกก็รู้สึกตื่นเต้นแต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดี

ประเมินเพื่อน

เพื่อนก็ต้ั้งใจเรียนสิ่งที่อาจารย์สอนและให้ความร่วมมือกับกิจกรรมนำมาให้ทำ ทั้งการเล่นเกมส์และการออกไปร้องเพลง รู้สึกว่าเพื่อนทุกคนตั้งใจและมีความพยายามที่จะทำออกมาให้ดีที่สุด

ประเมินอาจารย์

อาจารย์เตรียมการสอนมาอย่างดี และมีกิจกรรมมาให้ทำจึงทำให้ไม่น่าเบื่อ มีการยกตัวอย่างในเรื่องที่สอนทำให้เราเข้าใจได้ง่ายขึ้น

วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4
วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน 2558
เวลา 08.30-12.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
เข้าห้องมาอาจารย์ก็ให้ปั๊มเวลาให้เรียน


จากนั้นอาจารย์ก็บอกว่าวันนี้จะทำอะไรบ้างวันนี้อาจารย์บอกว่าจะสอนร้องเพลงก่อนแล้วถึงจะสอนเนื้อหา เริ่มแรกอาจารย์สอนเพลงเก็บเด็ก ร้องว่า 'เส้นหมี่ เส้นหมี เส้นหมี่ ซาลาเปา ซาลาเปา ซาลาเปา หมูสับ หมูสับ หมูสับ แล้วก็ข้าวต้มมัด ฮึบ'
จากนั้นอาจารย์ก็ทวนเพลงเก่าที่สอนร้องไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และก็สอนเพลงใหม่ต่อเลย


เพลงใหม่ที่อาจารย์สอนอาทิตย์นี้



จากนั้นอาจารย์ก็ให้ทำใบงานเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว




เมื่อทำใบงานจบอาจารย์ก็สอนเนื้อหาของสัปดาห์นี้เรื่องแนวคิดนักการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัย โดยแบ่งแนวคิดออกเป็น 4 กลุ่ม คือ
1.แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม
2.แนวคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา
3.แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย
4.แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด



โดยระหว่างการเรียนอาจารย์ก็มีกิจกรรมให้ทำ คือให้เพื่อนออกไปพูดคำลิ้นพันกัน ให้เพื่อนออกไปพูดหน้าห้องก่อนหนึ่งรอบและอาจารย์ก็ให้เพื่อนกลับไปฝึก พอเรียนเนื้อหาจบอาจารย์ก็ให้เพื่อนออกไปพูดใหม่ ผลคือเพื่อนพูดได้ดีขึ้น อาจารย์บอกว่าทักษะภาษาถ้าอยู่เฉยๆจะไม่มีการพัฒนาเราต้องหัดพูด หัดฝึกฝน เราถึงจะเก่งและมีการพัฒนา แต่ต้องอาศัยการฝึกฝน


หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้ทำหนังสือนิทานเล่มใหญ่ โดยให้เพื่อนออกไปเป็นครูหน้าชั้นเรียนมีหน้าที่คือเขียนสิ่งที่เด็กๆ(เพื่อนที่เหลือ)บอกลงไปในกระดาษ โดยกลุ่มของเราเลือกเรื่อง ทะเลของหนู  อาจารย์บอกว่าหัวข้อหลักของเราคือทะเล ดังนั้นทุกครั้งที่เราเขียนคำว่าทะเล เราต้องใช้สีอื่น เพื่อให้เด็กจำจดได้ว่าคำนี้คือคำว่าทะเล ถึงแม้เด็กจะอ่านไม่ได้ แต่เด็กจะจำได้ว่านี่คือคำว่า ทะเล


มีตัวเเทนเพื่อนออกไปเขียน 4 คน จากนั้นเราทุกคนก็ช่วยกันแต่งนิทาน มีเนื้อหาว่า วันนี้ไปทะเล เด็กๆไปเล่นน้ำทะเล ไปจับปูที่ทะเล เด็กๆไปกินน้ำทะเล
แล้วอาจารย์ก็เอาหนังสือนิทานเล่มใหญ่ของเพื่อนกลุ่มอื่นออกมาให้ดู ว่าต้องทำยังไงคือ เราจะใช้สีเทียนวาดและระบายสีเลย
จากนั้นอาจารย์ก็ปล่อยให้ทำงานกลุ่ม คือ แบ่งกันทำคนละหน้า แบ่งออกเป็น หน้าปก และเนื้อหาอีก 4 หน้า โดยกลุ่มของเรารับผิดชอบเรื่องหน้าปก



เมื่อทำเสร็จแล้วอาจารย์ก็ให้ทุกกลุ่มเอาผลงานของเราออกไปแสดงหน้าห้อง นี่คือผลงานของกลุ่มเราค่ะ


และอาจารย์ก็นำผลงานของเด็กจริงๆมาให้เราได้ดูด้วยค่ะ


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ทำให้เรารู้ว่าหากเราจะเน้นคำไหนให้เราใช้ปากกาคนละสี และรู้จักเพลงที่จะใช้กับเด็กได้มากขึ้น อาจารย์พูดถึงการลงโทษเด็ก อาจารย์บอกว่าถ้าเราจะตีเด็กเราสามารถตีได้ แต่ของให้เป็นวิธีสุดท้ายที่เราเลือก เราจะตีเด็กก็ต่อเมื่อสิ่งที่เด็กทำจะเป็นอันตรายต่อคนอื่น แต่เมื่อเราตีเราควรบอกเหตุผลกับเด็ก และแจ้งกับผู้ปกครองของเด็กด้วย เราควรใช้มือตีเด็ก คือ ถ้าเด็กเจ็บเราก็เจ็บด้วย

การประเมินผล

ประเมินตนเอง 
รู้สึกว่าตัวเองตั้งใจเรียนค่ะ เเละสนใจสิ่งอาจารย์สอน โดยเฉพาะประสบการณ์การสอนของอาจารย์เพราะจะได้นำความรู้ที่อาจารย์ให้ไปใช้ในตอนได้สอนเด็ก
ประเมินเพื่อน
เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน และตั้งใจในการทำงานค่ะ ทุกคนทำงานด้วยความพยายามและความตั้งใจ บรรยากาศในการเรียนเป็นไปอย่างสนุกสนาน และไม่น่าเบื่อ เพราะทุกคนให้ความร่วมมือ
ประเมินอาจารย์
อาจารย์เตรียมการสอนมาอย่างดี และมีกิจกรรมให้ทำระหว่างเรียน ทำให้เราไม่เบื่อ เช่น การเล่นเกมส์ฝึกสมอง การเล่นคำลิ้นพันกัน การทำสมุดนิทาน เป็นต้น และอาจารย์จะใส่ใจในทุกรายละเอียดอย่างเช่นการตกแต่ง power point การตกแต่งใบงาน ทำให้เรารู้สึกได้ว่าอาจารย์มีความตั้งใจในการสอนค่ะ



วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน 2558
เวลา 8.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
ช่วงแรกของการเรียนอาจารย์สอนให้ลิงค์รายชื่อ ระหว่างที่รอเพื่อนออกไปลิงค์รายชื่อ อาจารย์ก็ให้ทำป้ายชื่อ โดยให้เขียนชื่อจริงกับชื่อเล่น เขียนตัวหนังสือแบบหัวกลมตัวเหลี่ยม




พอทุกคนลิงค์รายชื่อครบอาจารย์ก็สอนทำลิงค์ของมหาวิทยาลัย และวิธีการลิงค์บล้อคของอาจารย์



จากนั้นอาจารย์ก็ทวนเพลงที่สอนไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยให้ทำเป็นวงกลมและนับเลข 1 2 แล้วแบ่งเป็นคนที่นับ1เป็นดอกไม้ นับ2เป็นผีเสื้อ แล้วให้ดอกไม้มาอยู่วงใน ผีเสื้ออยู่วงนอก แล้วก็ให้ร้องเพลงสวัสดีและอาจารย์ก็บอกให้ผีเสื้อบินไปเปลี่ยนดอกไม้ อาจารย์ให้ร้องเพลงไปเรื่อยๆ




พอร้องเพลงเสร็จอาจารย์ก็สอนเนื้อหาที่เรียนเกี่ยวกับภาษาของเด็ก





จากนั้นอาจารย์ก็แจกใบงานให้ทำ คือการวาดรูปของที่เรารัก และพูดว่าสีแบบไหนที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย คือ สีเทียนหรือสีชอร์คโดยการใช้สีเทียนและอาจารย์ก็ให้จับคู่เพื่อน  คือ คนหนึ่งเป็นครูคนหนึ่งเป็นนักเรียน อาจารย์บอกว่าเวลาทำงานเป็นครูถ้าเราให้เด็กทำกิจกรรมในลักษณะนี้เราจะให้เด็กเล่าเรื่องราวของสิ่งที่วาดและครูมีหน้าที่เขียนสิ่งที่เด็กพูดลงไปในกระดาษ หลังจากนั้นดิฉันก็ออกไปพูดหน้าชั้นเรียน ว่าทำไมดิฉันถึงเลือกวาดตุ๊กตาหมี








พอทำกิจกรรมเสร็จอาจารย์ก็สอนเพลงใหม่อีก5เพลง





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

อาจารย์สอนว่าในห้องเรียนของเด็กปฐมวัยไม่ควรมีดินสอกับยางลบถ้าเราให้เด็กได้วาดรูปก็ให้เด็กใช้สีวาดเลย เพราะถ้าเด็กใช้ดินสอแล้วเด็กไม่ชอบเด็กก็จะใช้ยางลบลบการทำแบบนั้นทำให้ความคิดของเด็กหยุดชะงัก และสีที่เหมาะกับเด็กคือสีชอร์คหรือสีเทียนเพราะแท่งใหญ่ทำให้เด็กจับได้ถนัดมือ ระบายได้ง่าย/เร็ว และมีความปลอดภัย เนื่องจากการใช้สีไม้อาจจะไม่ปลอดภัยกับเด็กเนื่องจากแท่งเล็กนอกจากจะไม่เหมาะกับมือเด็กแล้วความยาวหรือความแหลมของมันอาจจะทำให้ทิ่มเด็กหรือเป็นอันตรายต่อเด็กได้


ประเมินผล

ประเมินตนเอง
สนใจการเรียนและได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมที่อาจารย์จัด คือการออกไปพูดหน้าชั้นเรียน และรู้สึกสนุกกับการเรียน รู้สึกว่าตนเองพยายามจดสิ่งที่อาจารย์สอนที่นอกเหนือจาก power point. 

ประเมินเพื่อน
เพื่อนทุกคนมีความสนใจและตั้งใจเรียน รวมถึงตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำ และสนุกกับการสอนของอาจารย์ โดยเฉพาะตอนอาจารย์สอนร้องเพลง

ประเมินอาจารย์
อาจารย์เตรียมการสอนมาดีค่ะ ตอนสอนpower point ก็ไม่น่าเบื่อเพราะมีรูปภาพเข้ามาแทรกเพื่อให้เราคิด ทำให้ไม่น่าเบื่อ อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ไม่น่าเบื่อ ใบเนื้อเพลงที่อาจารย์แจกก็ดูน่าสนใจ ทำให้เห็นว่าอาจารย์มีความตั้งใจในการเตรียมการสอนและใส่ใจในรายละเอียด และมีการแทรกความรู้หรือประสบการณ์การสอนของอาจารย์ให้ฟัง ทำให้เราได้ความรู้เพิ่มขึ้นและไม่รู้สึกเบื่อ

บันทึกการเรียนครั้งที่2

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2
วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม 2558
เวลา 8.30-12.30 น.

เข้าร่วมกิจกรรมไหว้ครูของมหาวิทยาลัย