บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน 2558
เวลา 8.30-12.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
ช่วงแรกของการเรียนอาจารย์สอนให้ลิงค์รายชื่อ ระหว่างที่รอเพื่อนออกไปลิงค์รายชื่อ อาจารย์ก็ให้ทำป้ายชื่อ โดยให้เขียนชื่อจริงกับชื่อเล่น เขียนตัวหนังสือแบบหัวกลมตัวเหลี่ยม
จากนั้นอาจารย์ก็ทวนเพลงที่สอนไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยให้ทำเป็นวงกลมและนับเลข 1 2 แล้วแบ่งเป็นคนที่นับ1เป็นดอกไม้ นับ2เป็นผีเสื้อ แล้วให้ดอกไม้มาอยู่วงใน ผีเสื้ออยู่วงนอก แล้วก็ให้ร้องเพลงสวัสดีและอาจารย์ก็บอกให้ผีเสื้อบินไปเปลี่ยนดอกไม้ อาจารย์ให้ร้องเพลงไปเรื่อยๆ
จากนั้นอาจารย์ก็แจกใบงานให้ทำ คือการวาดรูปของที่เรารัก และพูดว่าสีแบบไหนที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย คือ สีเทียนหรือสีชอร์คโดยการใช้สีเทียนและอาจารย์ก็ให้จับคู่เพื่อน คือ คนหนึ่งเป็นครูคนหนึ่งเป็นนักเรียน อาจารย์บอกว่าเวลาทำงานเป็นครูถ้าเราให้เด็กทำกิจกรรมในลักษณะนี้เราจะให้เด็กเล่าเรื่องราวของสิ่งที่วาดและครูมีหน้าที่เขียนสิ่งที่เด็กพูดลงไปในกระดาษ หลังจากนั้นดิฉันก็ออกไปพูดหน้าชั้นเรียน ว่าทำไมดิฉันถึงเลือกวาดตุ๊กตาหมี
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
อาจารย์สอนว่าในห้องเรียนของเด็กปฐมวัยไม่ควรมีดินสอกับยางลบถ้าเราให้เด็กได้วาดรูปก็ให้เด็กใช้สีวาดเลย เพราะถ้าเด็กใช้ดินสอแล้วเด็กไม่ชอบเด็กก็จะใช้ยางลบลบการทำแบบนั้นทำให้ความคิดของเด็กหยุดชะงัก และสีที่เหมาะกับเด็กคือสีชอร์คหรือสีเทียนเพราะแท่งใหญ่ทำให้เด็กจับได้ถนัดมือ ระบายได้ง่าย/เร็ว และมีความปลอดภัย เนื่องจากการใช้สีไม้อาจจะไม่ปลอดภัยกับเด็กเนื่องจากแท่งเล็กนอกจากจะไม่เหมาะกับมือเด็กแล้วความยาวหรือความแหลมของมันอาจจะทำให้ทิ่มเด็กหรือเป็นอันตรายต่อเด็กได้
ประเมินผล
ประเมินตนเอง
สนใจการเรียนและได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมที่อาจารย์จัด คือการออกไปพูดหน้าชั้นเรียน และรู้สึกสนุกกับการเรียน รู้สึกว่าตนเองพยายามจดสิ่งที่อาจารย์สอนที่นอกเหนือจาก power point.
ประเมินเพื่อน
เพื่อนทุกคนมีความสนใจและตั้งใจเรียน รวมถึงตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำ และสนุกกับการสอนของอาจารย์ โดยเฉพาะตอนอาจารย์สอนร้องเพลง
ประเมินอาจารย์
อาจารย์เตรียมการสอนมาดีค่ะ ตอนสอนpower point ก็ไม่น่าเบื่อเพราะมีรูปภาพเข้ามาแทรกเพื่อให้เราคิด ทำให้ไม่น่าเบื่อ อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ไม่น่าเบื่อ ใบเนื้อเพลงที่อาจารย์แจกก็ดูน่าสนใจ ทำให้เห็นว่าอาจารย์มีความตั้งใจในการเตรียมการสอนและใส่ใจในรายละเอียด และมีการแทรกความรู้หรือประสบการณ์การสอนของอาจารย์ให้ฟัง ทำให้เราได้ความรู้เพิ่มขึ้นและไม่รู้สึกเบื่อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น