บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2558
เวลา 08.30-12.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
เมื่ออาจารย์มาถึงอาจารย์ก็ให้ตัวปั๊มเวลาเรียน
หลังจากนั้นอาจารย์ให้เล่นเกมนับเลขโดยที่ห้ามนับเลข3กับเลข7 ให้ใช้วิธีปรบมือแทน
กติกาคือคนที่ทำผิดต้องออกไปเต้นหน้าชั้นเรียน และดิฉันก็ทำผิดเลยต้องออกไปเต้นหน้าห้อง
หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้ร้องเพลงทวนของเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
เมื่อร้องเพลงจบอาจารย์ก็สอนเนื้อหา เรื่อง แนวทางการจัดประสบการณ์ทางภาษา
Richard and Rodger แบ่งมุมมองต่อภาษาในการจัดประสบการณ์เป็น 3 กลุ่ม คือ
1. มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา - เสียง ไวยากรณ์
2. มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา - เน้นการสื่อความหมาย3. มุมมองด้านปฎิสัมพันธ์ - เครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม
การอ่านแบบ Phonic
เป็นการสอนอ่านประสมคำ พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ตัวสะกด
แล้วอาจารย์ก็มีตัวอย่างหนังสือที่เด็กใช้เรียนในปัจจุบัน อาจารย์บอกว่าส่วนใหญ่โรงเรียนเอกชนจะเรียนแบบนี้คือเรียนแบบสะกดคำ แต่โรงเรียนรัฐบาลจะต้องจัด 6 กิจกรรมหลักให้กับเด็ก เพราะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของเขตพื้้นที่ การสอนแบบPhonicมันดี แต่มันไม่เหมาะกับเด็กปฐมวัย เด็กปฐมวัยควรเน้นการเล่นมากกว่า การเรียนแบบ Phonic ควรเรียนตอน ป.1
การสอนภาษาแบบธรรมชาติ Whole Language
เสนอแนวทางการสอนภาษาแบบธรรมชาติ มีความเชื่อมโยงระหว่างภาษากับความคิด เด็กจะเรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์และการลงมือกระทำ สอนในสิ่งที่เด็กสนใจหรือรอบตัวเด็ก การสอนแบบภาษาธรรมชาติจะทำให้เด็กรู้จักคำและรู้จักความหมาย แต่แบบ Phonic เด็กจะสะกดได้แต่ไม่รู้ความหมาย เพราะเด็กใช้ความจำไม่ได้ใช้ความเข้าใจ
หลักจากนั้นอาจารย์ก็ให้ดูวิดิโอที่สอนเด็กแบบภาษาธรรมชาติ การสอนภาษาแบบธรรมชาติไม่ได้สอนให้เด็กจำแต่จะทำให้เด็กคุ้นเคยกับคำ โดยใช้รูปภาพเข้ามาช่วย
หลักการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
1. การจัดสภาพแวดล้อม
2. การสื่อสารที่มีความหมาย
3. การเป็นแบบอย่าง
4. การตั้งความคาดหวัง
5. การคาดคะเน
6.การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
7. การยอมรับนับถือ
8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น
เมื่อสอนเนื้อหาจบอาจารย์ก็ให้ทุกคนออกไปร้องเพลงหนเาชั้นเรียนก่อนจะปล่อยเราทุกคนไปพักกลางวัน
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ทำให้เรารู้ว่าการสอนภาษาแบบไหนที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย จากการที่อาจารย์สอนร้องเพลงแปรงฟัน อาจารย์บอกว่าเด็กอ่านหนังสือไม่ออก แต่เราสามารถใช้ภาพในการสื่อสารความหมายแทนได้ โดยใช้ทั้งตัวอักษรและรูปภาพผสมกันไป และอาจารย์ก็สอนภาษาสำหรับครูที่จะใช้กับเด็กครูไม่ควรพูดคำว่าอย่า ดังนั้นเราจะพูดอะไรคนเป็นครูอย่างเราต้องคิดดีๆ เพราะเด็กเป็นวัยที่อ่อนไหวง่าย ยกตัวอย่างเช่น
อย่าวิ่ง คำที่ควรใช้ คือ ค่อยๆเดิน อย่าแกล้งเพื่อน คำที่ควรใช้ เล่นเพื่อนดีๆ
อย่าซน คำที่ควรใช้ คือ หนูต้องทำตามข้อตกลง อย่าโกหก คำที่ควรใช้ คือ หนูต้องพูดความจริง
การประเมินผล
ประเมินตนเอง
การเรียนก็เป็นไปอย่างสนุกสนานเพราะมาถึงอาจารย์ก็ให้เล่นเกมส์กับร้องเพลงทำให้เราตื่นตัวกับการเรียน ตอนที่ต้องออกไปร้องเพลงหน้าห้องเรียนตอนแรกก็รู้สึกตื่นเต้นแต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดี
ประเมินเพื่อน
เพื่อนก็ต้ั้งใจเรียนสิ่งที่อาจารย์สอนและให้ความร่วมมือกับกิจกรรมนำมาให้ทำ ทั้งการเล่นเกมส์และการออกไปร้องเพลง รู้สึกว่าเพื่อนทุกคนตั้งใจและมีความพยายามที่จะทำออกมาให้ดีที่สุด
ประเมินอาจารย์
อาจารย์เตรียมการสอนมาอย่างดี และมีกิจกรรมมาให้ทำจึงทำให้ไม่น่าเบื่อ มีการยกตัวอย่างในเรื่องที่สอนทำให้เราเข้าใจได้ง่ายขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น